pretty

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ตัวฉัน

ครั้งหนึ่งในชีวิตที่มีโอกาสไปโบราณสถาน ณ. ประสาทหินพิมาย
รู้สึกประทับใจในความงดงาม และแปลกประหลาด

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ วัลลภา พุดซาเทศ

ขื่อเล่น อ้อย

ที่อยู่ 63/4 ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี

ประวัติการเรียน

ประถมศึกษารร.วัดท้ายเมือง
มัธยมศึกษาต้น รร. นารีวิทยา

มัธยมศึกษาปลาย รร.ราชโบริกานุเคราะห์

พยาบาลศาสตร์ระดับต้น วพบ.ราขบุรี

ปัจจุบัน กำลังศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตต่อเนื่อง ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบรี

ประวัติการทำงาน รับราชการ 11 ปี ตำแหน่งพยาบาลเทคนิค





วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550

องค์ประกอบดนตรี

องค์ประกอบของประสบการณ์สุนทรียะ
ประสบการณ์สุนทรียะ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรงของบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลอาจจะมีประสบการณ์สุนทรียะแตกต่างกันไปตามสภาพของ สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ทั่วไปและประสบการณ์สุนทรียะ อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของประสบการณ์สุนทรียะ ที่บุคคลควรรู้จักแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. สื่อสุนทรียะ ได้แก่ วัตถุ สิ่งของต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่ มนุษย์สร้าง ตลอดจนวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ด้วย ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประสบการณ์สุนทรียะ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่ง เปรียบเสมือนเป็นเหตุที่ส่งให้ผู้รับประสบการณ์สุนทรียะ เกิดความรู้สึก
2. ความรู้สึกสุนทรียะ ความรู้สึกตอบสนองของเราหลังจากได้รับประสบการณ์สุนทรียะแล้ว ซึ่งอาจจะแสดงให้คนอื่นเห็น สังเกตได้ หรือแอบแฝงซ่อนไม่ให้ผู้อื่นเห็นชื่นชมคนเดียว เรื่องความรู้สึกเป็นเรื่องอธิบายได้ยากเพราะเป็นนามธรรม ภาษาที่ใช้เป็นสื่อความรู้สึกจึงใช้คำว่า ใจ เป็นสำคัญ เช่น พอใจ จับใจ กินใจ ซาบซึ้งใจ สะใจประทับใจ
3. ความคิดรวบยอด ผู้ที่ได้รับความรู้สึกและประสบการณ์ทางสุนทรียะก็สามารถความคิด สรุปว่าสิ่งที่ได้รับมานั้นให้แนวคิดอะไรบ้าง ก่อให้เกิดความสำนึกอย่างไรโดยไม่มีผลสรุปเป็นการตอบแทน อย่างไรก็ดีเพื่อให้เห็นโครงสร้างของส่วนประกอบของประสบการณ์สุนทรียะ ให้พิจารณาโครงสร้างต่อไปนี้

มนุษย์กับประสบการณ์สุนทรียะ ประสบการณ์ทั่วไป สิ่งแวดล้อม ผู้ดู ประสบการณ์สุนทรียะ สื่อสุนทรียะ วัตถุ ธรรมชาติ สิ่งที่มนุษย์สร้าง สัมพันธภาพวัฒนธรรมความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกสุนทรียะ พอใจ, ไม่พอใจ เพลิดเพลินเกินใจ, จับใจ ลืมตัว, เผลอใจ ความสุข ความสำนึก ความคิดรวบยอด ปรัชญา รูปแบบ สาระ กระบวนการ ความเป็นมา วัฒนธรรม

สุนทรียศาสตร์ มีเนื้อหาสาระอยู่ในหมวดของความรู้สึก และหมวดของคุณค่า คุณภาพสามารถแสดงเป็นแผนผังได้ดังนี้
วิธีแสวงหา
สุนทรียศาสตร์ความรู้เกี่ยวข้องกับความรู้สึก

ความรู้เกี่ยวข้องกับปริมาณ

ความรู้เกี่ยวข้องกับคุณค่า คุณภาพ

ความมุ่งหมายของวิชาสุนทรียศาสตร์โดยทั่วไปคือ เพื่อสร้างความเข้าใจศิลปะทุกแขนงอย่างมีหลักการ และเหตุผล ทำให้เกิดความรู้สึกในคุณค่าของรูปแบบศิลปกรรมแขนงนั้น ๆ เพื่อให้มองเห็นว่าสุนทรียศาสตร์กับศิลปะมีความสัมพันธ์กัน (อารี สุทธิพันธุ์. 2533)

ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ มาจากภาษาสันสกฤต ภาษาบาลีใช้ว่า สิปป แปลว่า มีฝีมือยอดเยี่ยม หมายถึง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงาม น่าฟัง น่าชม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
ศิลปะ หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อความพึงพอใจ และก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกในความงาม ความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน
อารี สุทธิพันธ์. (2533 : 64 – 66) กล่าวถึงความหมายของศิลปะไว้ ดังนี้
ความหมายของศิลปะ จากความเคยชินที่ว่า ศิลปะ มีอยู่ทั่วไป จนเป็นสาเหตุให้ละเลยที่
จะตีความให้เข้าใจตรงกัน เพื่อจะได้สื่อระหว่างกันได้ ดังนั้นเมื่อมีสิ่งใดที่แปลก เราก็มักจะเรียกกันว่า “เป็นศิลปะ” โดยปราศจากการแยกแยะสิ่งที่ได้รับรู้นั้น อย่างไรก็ดี ผู้สนใจศิลปะพยายามแยกแยะความหมายของศิลปะไว้มากมาย เช่น
1. ศิลปะ คือ การสร้างสรรค์ความงาม
2. ศิลปะ คือ การกระทำที่มีระเบียบ มีขั้นตอน
3. ศิลปะ คือ ภาษากลางสากล
4. ศิลปะ คือ การเลียนแบบธรรมชาติ
5. ศิลปะ คือ การแสดงออกทางด้านบุคลิกภาพของบุคคล
6. ศิลปะ คือ การแสดงออกของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
7. ศิลปะ คือ ผลสะท้อนทางด้านรูปแบบของสังคม
8. ศิลปะ คือ สื่อทางตา ทางหู โดยไม่ต้องใช้ภาษาพูด

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดนตรี


ดนตรีภาคเหนือ
สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของทางภาคเหนือ มีลักษณะคล้ายซอของภาคกลางนิยมใช้บรรเลงในงานพิธีต่างๆ ของภาคเหนือ
อุปกรณ์ที่ใช้ทำ สะล้อ
1.กะลามะพร้าวสำหรับทำกระโหลกซอ
2.ไม้สัก หรือ ไม้เนื้อประดู่ใช้ทำด้ามจับ
3.สายเอ็นสำหรับทำที่สี
4.สายกีต้า
การบรรเลงพลงของผูสีสะล้อตองใชัทักษะความชำนาญอย่างมากถึงจะเกิดความไพเราะ…..

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550